วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

MAC Address คือ
ค่า MAC Address เป็นค่าประจำการ์ดเครือข่ายหรือ LAN Card (ทั้งชนิดที่ใช้สายและไร้สาย) แต่ละอันจะมีค่าที่ไม่ซ้ำกันเลย มีลักษณะเป็นตัวเลขฐาน 16 จำนวน 12 หลัก เขียนติดกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะนี้เช่น 00-24-23-7C-0B-DF เราสามารถหา MAC Address ของการ์ดเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN Card) คลิกที่คำว่า Start เลือกรายการ Run เมื่อมีหน้าต่างเล็ก ๆ ปรากฏขึ้นมา ให้พิมพ์คำว่า cmd ลงไปในช่อง Open แล้วคลิกที่ปุ่ม OK (หรือกดคีย์ Enter ก็ได้) ดังภาพ





ขั้นตอนที่ จะปรากฏหน้าต่างใหม่ขึ้นมาลักษณะนี้ สังเกตว่ามีเครื่องหมายเคอร์เซอร์กระพริบอยู่ที่บรรทัดล่างสุด





ขั้นตอนที่ ให้พิมพ์คำว่า ipconfig /all แล้วกดคีย์ Enter ดังภาพ





ขั้นตอนที่ คอมพิวเตอร์จะแสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับการเชื่อมเครือข่าย ทั้งแบบใช้สาย (LAN) และไร้สาย (Wireless LAN) ลักษณะนี้




จากบรรทัดซึ่งเขียนว่า Ethernet adapter Wireless Network Connection : ถัดลงมาด้านล่างอีก 3 บรรทัด จะมีคำว่า Physical Address ให้จดค่าตัวเลข จากตัวอย่างนี้คือ 00-04-23-7C-0B-DF นี้ไว้ ค่าตัวเลขนี้คือค่า MAC Address ของการ์ดเครือข่ายไร้สาย ตามต้องการ

อนึ่ง ค่าตัวเลขอีกชุดหนึ่งคือ 00-06-1B-CE-F6-5D ที่อยู่บรรทัดข้างบน เป็นค่า MAC Address ของการ์ดเครือข่ายชนิดใช้สาย จึงเห็นว่าวิธีการนี้สามารถใช้หาค่า MAC Address ของการ์ดเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ได้ทุกชนิด




Unshielded twisted pair (UTP) เป็นสายโทรศัพท์แบบพื้นฐาน twisted pair เป็นสายทองแดงธรรมดาที่ต่อตามบ้าน คอมพิวเตอร์ของบริษัทไปยังผู้ให้บริการโทรศัพท์ การหุ้มฉนวนที่สายและพันเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนและการเหนี่ยวนำระหว่างสาย สัญญาณแต่ละสัญญาณบนสาย twisted pair ต้องการสายทั้งสอง ในการติดตั้งโทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์แบบ multiple connections ต้องการสาย twisted pair ตั้งแต่ 2 คู่ขึ้นภายในสายเดียวกัน
ประเภทสาย UTP
UTP CAT5 คือสายแลนที่เป็นสายทองแดงมีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 mbsps
UTP CAT5e คือสายแลนที่เป็นสายทองแดงมีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 Gpbs
UTP CAT6 คือสายแลนที่เป็นสายทองแดงมีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gpbs banwidth 250 mhz
UTP CAT7 คือสายแลนที่เป็นสายทองแดงมีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gpbs banwidth 600 mhz






ขั้นตอนการเข้าหัว RJ-45
แบบต่อตรง (Straigh thruogh)  มีดังนี้

1.เตรียมอุปกรณ์สำหรับเข้าสาย ได้แก่ คีมตัดสาย/กรรไกรตัด สาย มีดปอกสาย และคีมสำหรับเข้าหัว RJ-45



2. ปอกสายพลาสติกด้านนอกออกมา ระยะพอประมาณ  ระวังอย่าให้โดนสายทองแดงด้านใน







3. เรียงสายให้ตรงตามมาตรฐานการ
 จัดเรียงสีดังนี้ ขาวส้ม-ส้ม,ขาวเขียว-น้ำเงิน ,ขาวน้ำเงิน-เขียว ,ขาวน้ำตาล-น้ำตาล ให้ตรงแล้วตัดปลายให้เสมอกัน




4 .หลังจากใช้กรรไกรตัดสาย หรือ คีมตัดสาย ตัด
  ปลายสาย ให้พอดีเสมอกันแล้วใส่เข้าไปในหัว RJ-45






          5.ดันสายเข้าไปให้สุดของหัว RJ-45




6. ใช้คีมสำหรับเข้า หัว
 RJ-45 ทำการ ย้ำสายให้แน่นเพื่อทำการกดเข็มทองแดง และล๊อคสายไมให้หลุด








ขั้นตอนการเข้าหัว RJ-45

แบบ  Cross over (ไขว้)  มีดังนี้



1.เตรียมอุปกรณ์สำหรับเข้าสาย ได้แก่ คีมตัดสาย/กรรไกรตัด สาย มีดปอกสาย และคีมสำหรับเข้าหัว RJ-45



2. ปอกสายพลาสติกด้านนอกออกมา ระยะพอประมาณ  ระวังอย่าให้โดนสายทองแดงด้านใน




3. เรียงสายให้ตรงตามมาตรฐานการ จัดเรียงสีดังนี้ ขาวเขียว-เขียวขาวส้ม-น้ำเงิน,ขาวน้ำเงิน-ส้ม,ขาวน้ำตาล-น้ำตาล ให้ตรงแล้วตัดปลายให้เสมอกัน




4 .หลังจากใช้กรรไกรตัดสาย หรือ คีมตัดสาย ตัด  ปลายสาย ให้พอดีเสมอกันแล้วใส่เข้าไปในหัว RJ-45





5.ดันสายเข้าไปให้สุดของหัว RJ-45


6. ใช้คีมสำหรับเข้า หัว RJ-45 ทำการ ย้ำสายให้แน่นเพื่อทำการกดเข็มทองแดง และล๊อคสายไมให้หลุด






วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 4ข้อ









ความหมายของเครือข่าย 7ข้อ


1. ความหมายของเครือข่าย
          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้ เครือข่ายนั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกัน

2. ประโยชน์ของเครือข่าย
1.  สามารถแชร์ข้อมูลใช้ร่วมกันได้ ข้อมูลต่างๆในแต่ละเครื่องภายในระบบ  หากมีผู้อื่นต้องการใช้  คุณสามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ หรือข้อมูลที่เป็นส่วนรวมก็สามารถแชร์ไว้เพื่อให้หลายๆฝ่ายนำไปใช้งานได้  ซึ่งก็จะช่วยทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและช่วยให้การปรับปรุงข้อมูลในระบบง่ายขึ้นและไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูลด้วย เพราะข้อมูลมีอยู่ชุดเดียว
     2.  สามารถแชร์อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้  เช่น เครื่องพิมพ์  สแกนเนอร์  ซิปไดร์ฟ  เป็นต้น  โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาติดตั้งกับทุกๆเครื่อง  เช่นในบ้านคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 4 เครื่อง  อาจจะซื้อเครื่องพิมพ์มาเพียงตัวเดียวและแชร์เครื่องพิมพ์นั้นเพื่อใช้ร่วมกันได้
     3.  สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลายๆเครื่องได้  เช่น  ในห้อง LAB  คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวน คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนเครื่องในระบบจำนวน  30 เครื่อง  คุณสามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมกันได้  ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาด้วย
     4.  การสื่อสารในระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถเชื่อมกับเครื่องอื่นๆในระบบได้  เช่น  อาจจะส่งข้อความจากเครื่องของคุณไปยังเครื่องของคนอื่นๆได้  นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ E - Mail ส่ง

ข้อความข่าวสารต่างๆภายในสำนักงานได้อีก  เช่น  แจ้งกำหนดการต่างๆแจ้งข้อมูลต่างๆให้ทุกๆคนทราบ  โดยไม่ต้องพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกจ่าย  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
     5.  การแชร์อินเทอร์เน็ต ภายในระบบเครือข่ายคุณสามารถแชร์อินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ร่วมกันได้โดยที่คุณไม่จำเป้นต้องซื้อ Internet  Account สำหรับทุกๆเครื่องและไม่จำเป็นต้องติดตั้งโมเด็มทุกเครื่อง  ซึ่งก็จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
     6. เพื่อการเรียนรู้ การที่คุณได้ทดลองใช้งานระบบเครือข่ายจะทำให้คุณสามารถเรียนรู้และคุ้นเคยกับระบบเครือข่ายมากขึ้น
ทำให้คุณมีประสบการณ์ในระบบเครือข่ายมากขึ้นและจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย

3. ประเภทของเครือข่าย




1. LAN (Local Area Network)
          ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ เป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคารในระยะใกล้ๆ



2. MAN (Metropolitan Area Network)
          ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก




3. WAN (Wide Area Network)
          ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก 


4.Topology คืออะไร

  topology เป็นการอธิบายชนิดของตำแหน่งในความหมายด้านผังทางกายภาค ในความหมายของเครือข่ายการสื่อสารtopology เป็นการอธิบายภาพของคอนฟิกหรือการจัดการของระบบเครือข่ายรวมถึง mode และสายเชื่อ

รูปของTopology



1. แบบดาว (Star Network)   เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่างๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง

 2. การเชื่อมต่อแบบบัส (BUS TOPOLOGY) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS หรือ TRUNK ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบนสายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได้ 





3. แบบวงแหวน ( Ring Topology ) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถาน สุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป

5. Protocol คืออะไร บอกชื่อของ Protocol ที่ใช้แพร่หลาย
          โพรโทคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลชนิดเดียวกันเท่านั้นจึงจะสามารถติดต่อและส่งข้อมูลระหว่างกันได้ โพรโทคอลมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ซึ่งต้องใช้ภาษาเดียวกันจึงจะสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจองค์ประกอบหลักของโพรโตคอล
บอกชื่อของ Protocol ที่ใช้แพร่หลาย
โปรโตคอล IPX/SPX

6. Hardware ของเครือข่าย
บริดจ์ (Bridge)เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments)เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และData Link ได้ เช่น ระหว่าง Ethernet กับ Token Ring เป็นต้น


 7. Software ของเครือข่าย
   ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ จัดการระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบเครือข่าย และยังมีหน้าที่ควบคุม การนำโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มาทำงานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสำคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น

                                      


BUS,START,RING




ระบบสือสารข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์